วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

                                            วิธีกัดแผ่นปริ้นใช้เอง                                                          นก่อนว่างๆเลยทำชุดวงจรเตรียมงานชุดใหม่ค้นหาแผ่นปริ้งสำเร็จไม่เจอ ก็เลยกัดลายปริ้นวงจรเองเลยดีกว่า เพราะถ้าไปซื้อก็ คงเสียเวลาสู้เอาเวลามาทำงานได้หลายๆอย่างที่บ้าน(ขี้เกียจออกนอกบ้าน)ไปรถก็ติดเสียเวลาแถมได้งานอย่างเดียวเข้าตำราขี่ช้างจับตั๊กแตนก็เลยค้นหาของเหลือๆวงจรเก่าๆที่ไม่ใช้พวกนี้สำคัญนะครับไม่ใช่งก ถอดมาใช้ได้เลือกเอาที่เราต้องการก็ใช้ได้.  

แผ่นปริ้นที่ยังไม่ได้กัดควรซื้อเก็บไว้นะครับแผ่นละไม่กี่บาทครับผมซื้อมานานแล้วหน้าจะ4-5ปีกว่าๆนี่แหละซื้อตอนนั้นราคา60บาทตอนนี้คง70บาทนี่ละ ผมใช้ไม่หมดซักที ลองหัดทำดูไม่อยากหรอกครับ ถ้าไปสั่งเค้าทำตกแผ่นละ60บาทกว้างประมาณ6ซ.มและต้องสั่งเป็น50-100แผ่นขึ้นไปนะเค้าถึงจะทำให้  ขั้นตอนต้องเริ่มเขียนวงจรในกระดาษก่อนแล้วกลับกระดาษเพื่อก๊อปรายเส้นเพื่อวงจรจะได้ไม่กลับขั้วแล้วใช้สว่านเล็กเจอะรูเพื่อบอกตำแหน่งที่เราจะลากเส้น หรือมีวิธีอื่นก็ไม่เป็นไร ลายเส้นผมใช้ปากกาเขียนแผ่นCDเขียนทับลงบนปริ้นทองแดงเวลาลงน้ำกรดจะได้ไม่ละลาย
                          
แผ่นปริ้นที่ยังไม่ได้กัดควรซื้อเก็บไว้นะครับแผ่นละไม่กี่บาทครับผมซื้อมานานแล้วหน้าจะ4-5ปีกว่าๆนี่แหละซื้อตอนนั้นราคา60บาทตอนนี้คง70บาทนี่ละ ผมใช้ไม่หมดซักที ลองหัดทำดูไม่อยากหรอกครับ ถ้าไปสั่งเค้าทำตกแผ่นละ60บาทกว้างประมาณ6ซ.มและต้องสั่งเป็น50-100แผ่นขึ้นไปนะเค้าถึงจะทำให้  ขั้นตอนต้องเริ่มเขียนวงจรในกระดาษก่อนแล้วกลับกระดาษเพื่อก๊อปรายเส้นเพื่อวงจรจะได้ไม่กลับขั้วแล้วใช้สว่านเล็กเจอะรูเพื่อบอกตำแหน่งที่เราจะลากเส้น หรือมีวิธีอื่นก็ไม่เป็นไร ลายเส้นผมใช้ปากกาเขียนแผ่นCDเขียนทับลงบนปริ้นทองแดงเวลาลงน้ำกรดจะได้ไม่ละลาย                                                               

 เทคนิคการกัดแผ่นปริ้นท์ในเวลา 1 นาที     การสร้าง ตัวต้นแบบ (Prototype) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่หลาย ๆ ท่านจะต้องลงมือทำเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่ ออกแบบว่าจะทำอไะร ออกแบบวงจร ซื้ออุปกรณ์ วาด
ลายวงจร กัดปริ๊น บัดกรีลงอุปกรณ์ ทดสอบ หากมี ไมโครคอนโทรลเลอร์ อยู่ด้วย ก็ต้องเพิ่มส่วน เขียนโปรแกรม อีกขั้นตอนหนึ่ง นอกจากนั้นหากเป็นผู้ทำสินค้าขายเองแล้ว ก็ต้องมาดูเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ อีกต่างหาก ในส่วนการกัดปริ๊นนั้น หลาย ๆ ท่านก็ยังนิยมลงมือทำด้วยตังเองในส่วนของ ตัวต้นแบบ อยู่ ซึ่งหากพิจารณาดูแล้วการกัดปริ๊นที่ปฏิบัติกันมาแต่ก่อนเก่านั้น ก็ยังคงเป็นอะไรที่ง่าย ๆ แถมประหยัดเงินอีกด้วย และสำหรับผู้เริ่มต้น การกัดปริ๊นแบบ Dryfilm คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ด้วยความชำนาญ ผู้ที่ต้องการศึกษาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรือกำลังคิดที่จะศึกษาต่อทางด้านนี้ จำเป็นที่จะต้องรู้ในพื้นฐานงานทางด้าน อิเล็กทรอนิกส์ บ้าง ก่อนที่จะเข้าศึกษาไปสู่งาน ระบบสมองกลฝังตัว (Emdedded System) ที่เน้นลงอุปกรณ์แบบ SMD ดังนั้น บทความนี้เราจึงเสนอ การกัดปริ๊น แบบวิธีดั้งเดิม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้เริ่มต้นทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ให้รู้พื้นฐานต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปสู่บทความประยุกต์อื่น ๆ  ด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ ที่สามารถหาใช้ได้ในบ้านของคุณเอง เราขอเรียกว่าเป็น วิธีกัดปริ๊นแบบ กาแฟโบราณ สูตรกลมกล่อ                                                                                                                                     อุปกรณ์ที่ใช้ในการกัดปริ๊น จะประกอบด้วย

1.กรดกัดปริ๊น(ราคาย่อมเยาว์ จำนวนใช้งานได้มากครั้ง) หรือ น้ำยากัดปริ๊น(ราคาแพงหน่อย จำนวนใช้งานได้น้อยครั้ง)
2.แผ่นทองแดง แบบหน้าเดียว หรือ 2 หน้า (หากต้องการความแข็งแรง ควรเลือกแผ่นแบบ อีพร๊อกซี่)
3.เลื่อย และ กระดาษทราย (หาซื้อตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างแถวบ้าน) และ คัทเตอร์ 
4.แผ่นใส 
5.เตารีด
6.ถาดสำหรับใส่น้ำยากัดปริ๊น เพื่อใช้ในการแช่แผ่นทองแดง
7.ปากกา Permanent
สำหรับราคาค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น หากยังไม่เคยมีอยู่เลย ลงทุนซื้อในครั้งแรกอย่างหรู ๆ ไม่เกิน 500 บาทครับ ครั้งต่อไปก็ซื้อแค่แผ่นทองแดงกับแผ่นใสเท่านั้น
เริ่มต้นที่ เรามีลายวงจรที่ออกแบบไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เรานำไป Xerox แผ่นใสครับ เพื่อเราจะนำมารีดลงบน แผ่นทองแดง เนื่องจากว่าหมึกดำที่ใช้ Xerox เอกสารนั้น เป็นหมึกแบบ Permanent ครับ
เมื่อได้แผ่นใสที่ Xerox ลายวงจรแล้ว ก็ให้นำแผ่นใสด้านที่มีหมึกดำ ทาบลงทนแผ่นทองแดงครับ แล้วนำเตารีดปรับไปที่ความร้อนสูงสุด แล้วนำกระดาษวางรองพื้นอีกชั้น ขั้นระหว่างแผ่นใสกับเตารีด เพื่อไม่ให้แผ่นใส ละลาย เตรียมในขั้นตอนนี้แล้วก็เริ่มรีดทับลายได้เลยครับ  ที่เราต้องรีดให้ลายลอกอยู่บนแผ่นทองแดงเพราะ หมึกแบบ Permanent นั้น เวลานำไปแช่น้ำยากัดปริ๊นแล้ว จะทำให้ส่วนที่มีหมึกอยู่ ไม่หลุดลอกออกมาครับ

                                   การกัดแผ่นปริ้น                                              

การทำปริ้นที่ต้นทุนต่ำอีกวิธีหนึ่งคือการทำปริ้นโดยใช้โบรชัวด์สินค้า ที่เรามักได้รับเมื่อมีการจัดงานแสดงต่าง ๆ จากการทดลองทำปริ้นจากการใช้โบรชัวด์ทำปริ้นจะง่ายกว่าการใช้กระดาษโฟโต้ทำ  เนื่องจากกระดาษโฟโต้มีเยื่อเหนียว ๆ เพื่อให้หมึกติดกับกระดาษง่าย แต่โบรชัวสินค้าไม่มีดังนั้นเมื่อถึงขั้นตอนแช่น้ำให้กระดาษยุ่ยจึงง่ายกว่า
                                                                                       วัสดุที่ใช้
1. โบรชัวด์ (ขนาด A4 หรือใกล้เคียงเพื่อให้เข้าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ได้พอดี)
2. เครื่องพิมพ์เลเซอร์
3. เตารีดแบบพื้นเรียบ (ไม่ใช่แบบไอน้ำ)
4. ภาชนะใส่น้ำ
5. กรดกัดปริ้น
6. ทินเนอร์
7. กระดาษชำระ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                      
ขั้นตอนที่ 2
ใส่แทนกระดาษเพื่อพิมพ์ด้วยเลเซอร์

                                                                                                ขั้นตอนที่ 4
ตัดแผ่นปริ้นให้ได้ขนาด นำขัดด้วยฝอยหรือสก๊อตไบท์กับน้ำ (ใช้น้ำยาล้างจานช่วยด้วย)                                                       
ขั้นตอนที่ 6
ติดเทปกาวกันขยับ(ควรใช้แบบที่เป็นกระดาษเพื่อป้องกันเทปละลาย)                                                                                
ขั้นตอนที่ 7
เตรียมเตารีดโดยตั้งไฟค่อนข้างร้อนมาก
สร้างแผ่นวงจรเองแบบง่ายๆแต่ได้ผลดี
 1.ขั้นตอนการทำลายวงจรด้วยโปรแกรมที่ท่านถนัด ในมี่นี้ช่างโหน่งในโปรแกรมPCBWiz เป็นโปรแกรมง่ายๆสำหรับผู้เริ่มต้นหาโหลดได้ทั่วไปครับ เมื่อออกแบวงจรเสร็จแล้วให้พิมพ์ลายวงจรออกมาด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์
2.กระดาษที่ใช้พิมพ์ซึ่งขั้นตอนนี้สำคัญมากครับ ช่างโหน่งทดลองหากระดาษมามากมายหลายชนิด จนมาพบกระดาษที่ใช้พิมพ์รูปหรือที่เรียกว่ากระดาษโฟโต้ ซึ่งเลือกใช้ความหนาขนาด 120 แกรม เป็นขนาดที่ดีที่สุด ทั้งนี้เพราะเมื่อเราใช้ความร้อนทับบนกระดาษแล้ว เมื่อปล่อยใ้ห้เย็นลงเราสามารถแกะกระดาษออกได้เลยไม่ต้องเสียเวลาไปแช่น้ำ และลายวงจรคมชัดใช้ได้เลย อาจจะมีการแต่งเล็กน้อยถ้าเรารีดหรือให้ความร้อนไม่ทั่วถึง
3.การให้ความร้อน ง่ายที่สุดด้วยเตารีดครับ แต่ถ้าทำมากๆเราอาจใช้แผ่นทำความร้อนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตั้งเวลาได้โดยกดลงที่แผ่นวงจรเช่นเดียวกับเครื่องปะยาง ความร้อนจะทั่วถึงไม่ต้องแก้งานอีก
4.เมื่อแผ่นวงจรเย็นแล้วเราค่อยๆลอกกระดาษออก จะเห็นลายวงจรชัดเจนแม้แต่รูที่เราเจาะสว่าน
5.ใช้ปืนยิงกาวกับหลอดดูดนมขนาดเล็กติดบนด้านหลังแผ่นวงจรเพื่อเวลาหยิบขึ้นดูชิ้นงานเวลาเรานำไปกัดในกรดกัดปริ้นท์
6.เตรียมกรดกัดปริ้นท์ตามสัดส่วนที่ให้มาครับ หากต้องการเร่งให้กัดเร็วขึ้นให้ใช้น้ำอุ่นและเครื่องสั่นสะเทือนให้น้ำสั่นเบาๆช่วยย่นระยะเวลาได้ครับ
7.เมื่อกัดลายวงจรได้แล้วล้างออกด้วยฝอยขัดหม้อครับ ตากแดดให้แห้งแล้วนำมาเจาะรู
8.เจาะรูเสร็จแล้วเครือบด้วยน้ำยาเคลื่อมปริ้นท์ซึ่งมีขายทั่วๆไป
เป็นอันว่าท่านสามารถทำแผ่นวงจรได้เอง ทดลองทำวงจรต่างๆได้ง่ายขึ้นครับ ขอให้ทดลองมากๆแล้วจะรู้ขั้นตอนเองครับ         


                 การทำแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB)                    

ซึ่ง เทคนิคที่ผมจะนำเสนอ ต่อไปนี้อาจจะเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างที่จะต้องใช้เครื่องมือ ที่ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น จากเดิมเราเคยใช้ เตารีด กับ กระดาษ Photo อาจเจอปัญหา เช่น เส้นที่รีดออกมา ไม่ชัดเจน ลายวงจรที่มีขนาดเล็กไม่สามารถทำได้ สีหมึกจาง มีคราบกาวติดระหว่างการลอกกระดาษออก รวมไปถึงตำแหน่งของการรีดไม่ตรงตามที่ต้องการ ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่พอสมควรซึ่งข้อดีของวิธีนี้คือ สามารถใช้อุปกรณ์ไกล้ตัวทำได้ แต่บางคนอาจอยากได้ รายละเอียดที่สูงยิ่งขึ้นเราจึงขอนำเสนอวิธีนี้                                         

วัสดุอุปกรณ์และการเตรียมความพร้อม                   1.กระดาษ TheMagicTouch ชนิด CPM6.2         2. เครื่องรีดร้อนแรงดันลม                                     3.ลายวงจรที่ออกแบบไว้ พร้อมปริ้นกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ขาวดำ
                                         

ขั้นตอนการทำ                                                      1.เตรียมเครื่องรีดร้อน ตั้งอุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส แรงกด 4 บาร์                                         2.ตัดกระดาษ CPM 6.2 ให้พอดีกับแผ่นวงจรที่จะทำการ Transfer                                                  3.นำกระดาษ CPM 6.2 มาวางและตั้งตำแหน่งตามที่ต้องการแล้วกดปุ่มรีดและ ลอกเย็น                4.กัดโดยใช้กรดกัดปริ้นธรรมดา                           5.ขัดหมึกออกและเตรียมทำอีกด้าน                      6.ทำอีกด้านโดยเจารู 4 มุม เพื่อเล็งตำแหน่งให้ตรงกันทั้ง 2 ด้าน                                                   

                 การกัดแผ่นปริ้น (PCB)                      1.เตรียมลายวงจรที่จะทำ หรือออกแบบเอง

2.ถ่ายเอกสารหรือปริ้นใส่แผ่นใส
3.
ตัดแผ่นปริ้นให้พอดีกับลายวงจร
4.
ทำความสะอาดแผ่นปริ้นด้วยสะก๊อตซ์ไบรต์เพื่อให้น้ำยาเคลือบทองแดงออก
5.
เช็ดให้สะอาดถ้าเปียกน้ำก็เช็ดให้แห้ง
6.
นำแผ่นใสที่ก๊อปปี้ลายวงจรแล้วมาทาบลงบนแผ่นปริ้นติดเทปกราวให้เรียบร้อย
7.
นำไปรีดด้วยความร้อนหรือเตารีดเอาด้านทองแดงขึ้นแล้วเอากระดาษ A4 รองรีดด้วยความร้อนสูงๆออกแรงเล็กน้อย รีดให้ทั่วแผ่นวงจรประมาณ 5-7 นาที 
8.
พอรีดเสร็จรอให้เย็นก่อนถ้าไม่เย็นห้ามทำอะไร
9.
ค่อยๆแกะแผ่นใสออก ถ้าลายวงจรขาดก็ให้ซ่อมด้วยปากกาเคมี
10.
นำไปกัดด้วยสารเคมี หรือน้ำยากัดปริ้นเพื่อนำส่วนที่ไม่ต้องการออก ประมาณ 15-20 นาที่ ขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มของน้ำยา
11.
พอกัดลายวงจรเสร็จล้างทำความสะอาดกลับไปดูข้อ และ 5 
12.
เคลือบด้วยน้ำยาเคลือบปริ้นรอให้แห้ง การเคลือกน้ำยาช่วยให้ง่ายตอนบัดกรี และรักษาลายทองแดงให้มีอายุการใช้งานนานชึ้น
13.
เจาะรูตามขนาดขาของอุปกรณ์ให้เรียบร้อยและลงอุปกรณ์ต่อไป