วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562

  การทำปริ้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของปริ้นที่ต้องการ สำหรับการทำปริ้นด้วยกระดาษโฟโต้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายต้นทุนต่ำ (สำหรับลายวงจรไที่ไม่ซับซ้อนนัก) แต่มีข้อเสียตรงที่ขนาดของลายเส้นที่มีขนาดเล็กทำได้ยาก เหมาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ทำโครงงานหรือทำวงจรอะไรเล่นๆ
1. กระดาษโฟโต้ (ขนาด A4 มีลักษณะเป็นมันหนึ่งด้าน  ราคาประมาณแผ่นละ 5 บาท)
2. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (เค้าว่าใช้ถ่ายเอกสารก็ได้แต่ยังไม่ได้ลองนะ...)
3. เตารีดแบบพื้นเรียบ (ไม่ใช่แบบไอน้ำ)
4. ภาชนะใส่น้ำ
5. ปากกาเขียนแผ่นซีดี
6. กรดกัดปริ้น
7. ทินเนอร์
8. กระดาษชำระ
https://www.praphas.com/index.php/2008                                                                                            ขั้นตอนที่ 1
เริ่มจากออกแบบลายวงจรด้วยโปรแกรมออกแบบลายวงจรตามถนัด (ในที่นี้ใช้โปรแกรม Protel99SE) ใส่เส้นขอบนอกปริ้นเพื่อให้ง่ายต่อการวางแผ่นปริ้นในขึ้นตอนการติดกระดาษ และอย่าลืมใส่ข้อความโดยเซตค่าให้เป็นตรงข้าม (ประโยชน์ของการใส่ข้อความคือใช้เป็นตัวบอกด้านก่อนวางต้นแบบ)
    ขั้นตอนที่ 2
ก๊อบลายวงจรทำให้ได้หลายๆแผ่นโดยใช้กระดาษแผ่นเดียว (คือว่าเสียดายกระดาษน่ะ ไหนๆก็จะปริ้นแล้ว)

                                                   เซตค่าการพิมพ์ดังนี้
1. เลือกเลเยอร์ที่จะพิมพ์เพียง 2 เลเยอร์คือ
    - MultiLayer  (เป็นเลเยอร์ PAD)
    - BottomLayer (เป็นเลเยอร์ลายทองแดง)
2. จัดการให้ MultiLayer อยู่ด้านบนเพื่อไม่ให้ลายทองแดงทับรูของ PAD
3. เลือก ShowHold
-ขัดปริ้น(ด้านทองแดง) ด้วยฝอยขัดหม้อหรือสก๊อตไบต์กับน้ำ ใช้น้ำยาล้างจานช่วยด้วย ขัดจนใสกิ๊กเลยนะครับ
-นำแผ่นปริ้นวางคว่ำบนแผ่นต้นแบบโดยเอาด้านทองแดงสัมผัสกันแบบ (ประโยชน์ของการสร้างขอบก็ตอนนี้แหละ)
*หากวอร์มแผ่นปริ้นให้ร้อนก่อน (รีดแผ่นปริ้นเปล่าด้วยเตารีด) จะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น


ขั้นตอนที่ 5ติดกระดาษกาวกันการเลื่อนขยับ



ขั้นตอนที่ 6ตั้งความร้อนเตารีดค่อนข้างสูงหน่อย

ขั้นตอนที่ 7ติดกระดาษกาวกับพื้นกันเลื่อน


ขั้นตอนที่ 8กดเตารีด(กดเฉยๆและหนักๆหน่อย) ใช้เวลาประมาณ 30 วินาที


ขั้นตอนที่ 9
-รีดไปทั่วๆแผ่นโดยใช้แรงกดพอสมควร (ประมาณ 1.30 นาที)
-ตะแคงเตารีดเอาขอบด้านหัวเตารีด รีดกดไปทั่วๆแผ่น ย้ำๆ ซ้ำๆ (ประมาณ 1.30 นาที)


ขั้นตอนที่ 10
นำลงแช่น้ำโดยใช้เวลาแช่ 10 นาที


ขั้นตอนที่ 11
ลอกกระดาษออก




ขั้นตอนที่ 12
แช่ต่ออีก 5 นาที


ขั้นตอนที่ 13
ใช้นิ้วถูคราบกระดาษซึ่งบางท่านอาจใช้แปรงสีฟันช่วยก็ได้
ขั้นตอนที่ 14
จะได้ดังรูป


ขั้นตอนที่ 15
ใช้เข็มหรือขาไอซีเขี่ยรูโดนัทเนื่องจากขั้นตอนที่ผ่านมามันไม่ค่อยออก


ขั้นตอนที่ 16
ใช้ปากกากันน้ำ(เขียนซีดี)แต่เส้นที่ขาด


ขั้นตอนที่ 17
นำไปกัดด้วยกรดกัดปริ้น

ขั้นตอนที่ 18
กัดเสร็จแล้ว...


ขั้นตอนที่ 19
ใช้กระดาษชำระ(ทิชชู) 1 แผ่นพับให้เหลือสัก 1 ตารางนิ้วชุบทินเนอร์เช็ดหมึก


ขั้นตอนที่ 20
เช็ดให้สะอาด
ำเร็จซะที....ใช้เวลาไปทั้งหมดประมาณครึ่งชั่วโมง
                                      ข้อควรจำ...
-โดนัทจุดต่อขา(PAD) ต่อสุดไม่ควรต่ำกว่า 80mil
-รูเจาะ(รูใน PAD) เอาให้ใหญ่หน่อยในที่นี้ใช้ 32mil
-เว้นช่องระหว่างลายแต่ละแผ่นเพื่อง่ายต่อการวางแผ่นปริ้น

ขั้นตอนที่ 3
พิมพ์ด้วยกระดาษโฟโต้(ด้านมัน) ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ สังเกตุลายจะต้องเป็นลายตรงข้ามกับลายจริง (ข้อความจะอ่านไม่ออก)
     ขั้นตอนที่ 4
ตัดกระดาษต้นแบบเอาในส่วนที่ต้องการนำไปทำงาน
https://www.praphas.com/index.php/2008

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น